นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่าสสวท.คัดเลือกและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศปี ๒๕๕๓ ที่กรุงซาเกรบ ประเทศโครเอเชีย ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๕ ก.ค. ๕๓ ผลปรากฏว่า ทีมเด็กไทย ๕ คน สร้างประวัติศาสตร์สามารถคว้าเหรียญทองกลับบ้านครบทุกคน
รวม ๕ เหรียญทองสําหรับทีมฟิสิกส์ไทยนั้น ประกอบด้วย นายนครินทร์ โลหิตศิริ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, นายชยากร พงษ์ศิริโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, นายสิรภัทร จงอร่ามรุ่งเรือง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, นายอิสระพงศ์ เอกสินชล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ นายวีรภัทร พิทยครรชิต โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยคณะอาจารย์ที่ร่วมเดินทางประกอบด้วย รศ.สุวรรณ คูสําราญ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.ปิยพงษ์ สิทธิคง จากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรองหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.รัชภาคย์ จิตต์อารี จากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.โศจิพงษ์ ฉัตราภรณ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีม และ อาจารย์ราม ติวารี จาก สสวท.เป็นผู้จัดการทีมสําหรับการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้รับเหรียญทองครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๕ แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่ทีมเด็กไทยคว้าเหรียญทองกลับบ้านได้ครบทั้ง ๕ เหรียญทอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก และสําหรับการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกส์ระหว่างประเทศเมื่อปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ที่ประเทศแม็กซิโก ทีมไทยทําได้แค่ ๑ เหรียญทอง ๔ เหรียญเงินและคณะผู้แทนประเทศไทยได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ ๒๖ ก.ค. เวลา ๑๔.๒๐ น. เที่ยวบินโอเอส ๐๒๕ โดย นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ และคณะ สสวท.จะจัดพิธีต้อนรับแสดงความยินดี ที่ชั้น ๒ ด้านในประตูที่ ๑ สนามบินสุวรรณภูมิ
รายชื่อและรายละเอียดของผู้แทนทั้ง ๕ คน
รายชื่อ | โรงเรียน | รางวัล |
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | เหรียญทอง | |
นายชยากร พงษ์ศิริ | ||
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | เหรียญทอง | |
นายนครินทร์ โลหิตศิริ | ||
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | เหรียญทอง | |
นายสิรภัทร จงอร่ามรุ่งเรือง | ||
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | เหรียญทอง | |
นายวีรภัทร พิทยครรชิต | ||
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | เหรียญทอง | |
นายอิสระพงศ์ เอกสินชล |
ผลการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศปี 2553
เด็กไทยเจ๋ง สร้างชื่อกระหึ่มโลก คว้าเหรียญทองยกคณะรวม 5 เหรียญ ในการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 2010 ที่โครเอเชีย “รมช.ศธ.” จัดต้อนรับฉลองความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ ด้านเด็กเก่ง เผยวางแผนศึกษาต่อ จบเป็นอาจารย์ด้านฟิสิกส์พร้อมทำงานวิจัยแทนคุณแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 53 นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า สสวท.คัดเลือกและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศปี 2553 ที่กรุงซาเกรบ ประเทศโครเอเชีย ระหว่างวันที่ 17-25 ก.ค. 53 ผลปรากฏว่า ทีมเด็กไทย 5 คน สร้างประวัติศาสตร์สามารถคว้าเหรียญทองกลับบ้านครบทุกคน รวม 5 เหรียญทอง และคณะผู้แทนประเทศไทยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 26 ก.ค.นี้ เวลา 14.20 น. เที่ยวบิน OS 025 โดย นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ และคณะ สสวท.จะจัดพิธีต้อนรับแสดงความยินดี ที่ชั้น 2 ด้านในประตูที่ 1 สนามบินสุวรรณภูมิ
นางพรพรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับทีมฟิสิกส์ไทยนั้น ประกอบด้วย นายนครินทร์ โลหิตศิริ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, นายชยากร พงษ์ศิริ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, นายสิรภัทร จงอร่ามรุ่งเรือง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, นายอิสระพงศ์ เอกสินชล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ นายวีรภัทร พิทยครรชิต โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยคณะอาจารย์ที่ร่วมเดินทางประกอบด้วย รศ.สุวรรณ คูสำราญ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.ปิยพงษ์ สิทธิคง จากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรองหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.รัชภาคย์ จิตต์อารี จากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีม, ผศ.ดร.โศจิพงษ์ ฉัตราภรณ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีม และ อาจารย์ราม ติวารี จาก สสวท.เป็นผู้จัดการทีม
สำหรับการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้รับเหรียญทองครั้งแรกเมื่อปี 2545 แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่ทีมเด็กไทยคว้าเหรียญทองกลับบ้านได้ครบทั้ง 5 เหรียญทอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก และสำหรับการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกส์ระหว่างประเทศเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ที่ประเทศแม็กซิโก ทีมไทยทำได้แค่ 1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน
ด้าน นายอิสระพงศ์ ซึ่งปีที่แล้วเคยคว้ารางวัลเหรียญเงิน จากการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศปี 2552 ที่เม็กซิโก กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ในปีนี้สามารถพิชิตเหรียญทองผลสำเร็จ การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกมี ผลต่อการเรียนของตน รวมถึงเด็กอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะทำให้มีจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งทุนการศึกษาโครงการโอลิมปิกวิชาการเหล่านี้ล้วนเป็นแรงจูงใจให้หันมา สนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่การจะเรียนให้ได้ดีนั้นที่สำคัญต้องค้นหาตัวเองให้พบว่าชอบหรือถนัดด้าน ใดมากที่สุด แล้วมุ่งมั่นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในส่วนของคุณครูมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กมาก โดยหลายๆ ครั้ง ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้จบด้านนี้โดยตรง การสอนจึงอาจไม่เข้าถึงแก่นแท้ของเนื้อหาสาระ ไม่สามารถอธิบายหลักการให้นักเรียนเข้าใจได้ ทำให้อาจเป็นเพียงการท่องจำและรู้สึกเบื่อได้ ซึ่งสำหรับตัวเองโชคดีที่ได้พบคุณครูวิทยาศาสตร์ที่ดี อนาคตตั้งใจจะกลับมาเป็นนักวิจัยใช้ความรู้ที่มีรับใช้ชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด
นายวีรภัทร ซึ่งเคยคว้าเหรียญเงินจากการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกจาก เม็กซิโกเช่นกัน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่คว้าเหรียญทองสำเร็จ สำหรับอนาคตตั้งเป้าหมายเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยและทำวิจัยพัฒนา ด้านนี้ไปด้วย
นายชยากร กล่าวว่า เมื่อสอบผ่านการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยครั้งนี้ รู้สึกดีใจมากและพยายามเตรียมตัวพร้อมด้วยการฝึกฝนทำโจทย์บ่อยๆ รวมทั้งเตรียมด้านจิตใจด้วย โดยยึดหลักของตัวเองว่าตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้ดีที่สุด และหมั่นฝึกฝนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวสนุกกับการเรียนรู้ฟิสิกส์ โดยเฉพาะภาคปฏิบัติเพราะไม่น่าเบื่อ ชอบที่จะทำการทดลองต่างๆ
นายสิรภัทร กล่าวว่า ความสำเร็จของรุ่นพี่ๆเป็นแรงบันดาลใจให้สมัครเข้าโครงการนี้บ้าง และบอกกับตัวเองว่าอยากทำให้ได้ เมื่อผ่านการสอบเข้าสู่ค่ายโอลิมปิกวิชาการทำให้รู้สึกแข็งแกร่งทั้งด้าน สมองและจิตใจ เรียนรู้ฟิสิกส์แล้วรู้สึกสนุก ได้คิดวิเคราะห์ ไม่ต้องท่องจำ วิชาฟิสิกส์เปิดมุมมองโลกทัศน์ทำให้มองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่เป็นวิทยาศาสตร์ เข้าใจกฎของธรรมชาติมากขึ้น สามารถนำมาสร้างเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ ได้
นายนครินทร์ กล่าวว่า เรื่องการสอนวิทยาศาสตร์นั้นคุณครูควรสอนเด็กๆ ให้เข้าใจถึงแก่นและเนื้อหาสาระนั้นๆ โดยอาจมีการทดลองหรือปรากฏการณ์ที่เห็นได้ทั่วไป หรือน่าตื่นเต้นมากระตุ้นความสนใจเด็กจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นหรือเปลี่ยน ความคิดมาชอบวิทยาศาสตร์ก็ได้ ส่วนเป้าหมายในอนาคตอยากจะทำวิจัยทางด้านฟิสิกส์ และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย